แหล่งรวมความรู้

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Heinrich Rudolf Hertz






ประวัติ Heinrich Rudolf Hertz ความถี่ บนโลกเรา


ภาพลูกคลื่นวิ่งไปมา ในหน้าจอ ออสซิโลสโคป คงเป็นสัญลักษณ์ ที่นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แถมยังมีการเรียกหน่วยต่างๆ ออกมาให้เราจดจำไปใช้ในการเรียนการสอน ด้วย


แต่รู้หรือไม่ ว่าที่มีของหน่วยความถี่ ที่เรียกว่า Hertz นั้น มาจากอะไร?


หากไม่รู้ เรามีคำตอบให้


Hertz เป็นชื่อที่แต่งตั้งให้ เพื่อเป็นเกียรติ กับนักวิทยาศาสตร์ นามว่า Heinrich Rudolf Hertz  นั่นเอง

เอาล่ะ มารู้จักประวัติของ Heinrich Rudolf Hertz  กัน

ชื่อ:ไฮน์ริช  เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz )
มีชีวิตในช่วง: 1857-1891
สัญชาติ: เยอรมนี

ด้านการศึกษา

ขณะที่เขาเรียนอยู่ที่ University of Hamburg เขามีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และทางด้านภาษา ทั้งอารบิกและสันสกฤต เขาเรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ.1878Heinrich Rudolf Hertz หรือที่รู้จักอีกชื่อว่า เฮิรตซ์” เข้าศึกษาที่วิทยาลัยในเบอร์ลินซึ่งมี Helmholtz เป็นผู้สนับสนุน ต่อมาทำการวิจัยวิทยานิพนธ์เพื่อรับปริญญาเอก ปรากฏว่าได้คะแนนดี และเป็นที่น่าพอใจ เฮิรตซ์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยของ Helmholtz ช่วยวิจัยและค้นคว้าต่างๆ ซึ่งระหว่างนั้น James Clerk Maxwell ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ขึ้นมาแต่ยังไม่มีผู้ใดสามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัด จะกระทั่งในปี ค.ศ.1880 เฮิรตซ์ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก

ด้านการทำงาน

ในปี 1883 Heinrich Rudolf Hertz ได้เป็นอาจารย์สอนด้านทฤษฎีฟิสิกส์ ที่ University of Kiel และในปี ค.ศ.1885 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ University of Karlsruhe และที่นี่ทำให้เขาค้นพบ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” จนกระทั่งในปี ค.ศ.1887 เฮิรตซ์ ได้ออกแบบการทดลองแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ คลื่นวิทยุ โดยใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ความถี่สูง และสามารถวัดความยาวคลื่นและความถี่ได้ตรงตามการคำนวณด้วยสมการของ Maxwell ต่อมา ในปี ค.ศ.1888 เฮิรตซ์ ได้สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการทดลองขึ้นประกอบด้วย คอยล์ 2 ขด คือ ขดปฐมภูมิและทุติยภูมิ ให้จำนวนรอบของขดทุติยภูมิมากกว่าขดปฐมภูมิหลายเท่า ระหว่างขดทุติยภูมินั้น ให้ปลายของเส้นลวดทั้งสองห่างกันเล็กน้อย เมื่อเขาเปิด-ปิด วงจรในขดปฐมภูมิ พบว่า เกิดประกายไฟที่ช่องว่างของขดทุติยภูมิ และพบว่าลวดที่ทำเป็นรูปวงแหวนมีปลาย ทั้งสองห่างกันเล็กน้อยที่มุมห้อง เกิดประกายไฟด้วยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในที่มืด ดังนั้น เขาเลยตั้งชื่อว่า “Hertzian Wave” ซึ่งปัจจุบันคลื่นชนิดนี้ คือ “คลื่นวิทยุ” นั้นเอง
transverse electromagnetic wave

ด้านผลงาน

เขาได้เขียนหนังสือ Gesammelte Werke (ค.ศ.1885) และ Uber Die Beziehungen Swischen Lich Und Electricitat (ค.ศ.1890) ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน
ในปี ค.ศ.1930 สถาบัน IEC ได้ยกย่องเขา โดยนำชื่อ Hertz (Hz) ไปตั้งเป็นหน่วยของความถี่ในระบบ SI เป็นการวัดจำนวนครั้งที่เกิดขึ้นต่อหนึ่งหน่วยเวลา
Hertz schematic
- ขอบคุณข้อมูล : http://en.wikipedia.org/wiki/Heinrich_Hertz -

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเกิดภาพจากกระจกเงาและเลนส์


การเกิดภาพจากกระจกเงาและเลนส์

การเกิดภาพจากกระจกเงา
กระจกเงาราบ
กระจกเงาราบ คือ กระจกแบนราบ ซึ่งมีด้านหนึ่งสะท้อนแสง ดังนั้นภาพที่เกิดขึ้นจึงเป็นภาพเสมือน อยู่หลังกระจก มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ และขนาดภาพเท่ากับขนาดวัตถุ ภาพที่ได้จะกลับด้านกันจากขวาเป็นซ้ายของวัตถุจริง
รูปแสดงการเกิดภาพจากกระจกเงาราบ
การหาจำนวนภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ 2 บาน วางทำมุมกัน หาได้จากสูตร 

กำหนดให้
n = จำนวนภาพที่มองเห็น
u = มุมที่กระจกเงาราบ 2 บานวางทำมุมต่อกัน
ถ้าผลลัพธ์ n ที่ได้ไม่ลงตัว ให้ปัดเศษขึ้นเป็นหนึ่งได้
ตัวอย่างที่ 1 กระจกเงาราบ 2 บาน วางนำมุม 60 องศาต่อกัน จงหาจำนวนภาพที่เกิดขึ้น
วิธีคิด จากสูตร
= 5.5
= 6 ภาพ
 จำนวนภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ 2 บานวางทำมุมต่อกันเท่ากับ 6 ภาพ ตอบ
กระจกเงาผิวโค้งทรงกลม
กระจกเงาผิวโค้งทรงกลม มีอยู่ 2 ชนิด คือ กระจกเว้าและกระจกนูน
1. กระจกเว้า คือ กระจกที่ใช้ผิวโค้งเว้าเป็นผิวสะท้อนแสง หรือกระจกเงาที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่ด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางความโค้ง ดังรูป

รูปแสดงรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนของกระจกเว้า
2. กระจกนูน คือ กระจกที่ใช้ผิวโค้งนูนเป็นผิวสะท้อนแสง และรังสีสะท้อนอยู่คนละด้านกับจุดศูนย์กลางความโค้ง ดังรูป
รูปแสดงรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนของกระจกนูน
ภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกโค้งนั้นตามปกติมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือน โดยภาพจริงจะอยู่หน้ากระจก และภาพเสมือนจะอยู่หลังกระจก โดยกระจกเว้าจะให้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน สำหรับขนาดของภาพมีทั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ ขนาดเท่าวัตถุ และขนาดเล็กกว่าวัตถุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะวัตถุ ส่วนกระจกนูนจะให้ภาพเสมือนที่มีขนาดเล็กกว่าวัตถุทั้งสิ้น
หมายเหตุ
ภาพ (image) เกิดจากการตัดกันหรือเสมือนตัดกันของรังสีของแสงที่สะท้อนมาจากกระจกหรือหักเหผ่านเลนส์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาพจริง เกิดจากรังสีของแสงตัดกันจริง เกิดด้านหน้ากระจกหรือด้านหลังเลนส์ ต้องมีฉากมารับจึงจะมองเห็นภาพ ลักษณะภาพหัวกลับกับวัตถุ มีทั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เท่ากับวัตถุ และเล็กกว่าวัตถุ ซึ่งขนาดภาพจะสัมพันธ์กับระยะวัตถุ เช่น ภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ภาพเสมือน เกิดจากรังสีของแสงเสมือนตัดกัน ทำให้เกิดภาพด้านหลังกระจกหรือด้านหน้าเลนส์ มองเห็นภาพได้โดยไม่ต้องใช้ฉากรับภาพ ภาพมีลักษณะหัวตั้งเหมือนวัตถุ เช่น ภาพเกิดจากแว่นขยาย เป็นต้น
ตารางแสดงตัวอย่างประโยชน์ของกระจกเว้าและกระจกนูน
กระจกเว้า
กระจกนูน
1. ทันตแพทย์ใช้ส่องดูฟันผู้ป่วย เพื่อให้เห็นภาพของฟันมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
2. ใช้ในกล้องจุลทรรศน์เพื่อช่วยรวมแสงให้ตกที่แผ่นสไลด์ เพื่อทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้น
1. ใช้ติดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เพื่อดูรถที่ตามมาข้างหลัง และจะมองเห็นมุมที่กว้างกว่ากระจกเงาราบ
2. ใช้ติดตั้งบริเวณทางเลี้ยวเพื่อช่วยให้เห็นรถที่วิ่งสวนทางหรืออ้อมมาก็ได้
เลนส์
เลนส์ (lens) คือ วัตถุโปร่งใสที่มีผิวหน้าโค้งทำจากแก้วหรือพลาสติก เลนส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เลนส์นูนและเลนส์เว้า
เลนส์นูน
เลนส์นูน (convex lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะหนาตรงกลางและบางที่ขอบ ดังรูป
รูปแสดงลักษณะเลนส์นูน
รูปแสดงส่วนสำคัญและรังสีบางรังสีของเลนส์
เลนส์นูนทำหน้าที่รวมแสงขนานไปตัดกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งแนวหรือทิศทางของแสงที่เข้ามายังเลนส์สามารถเขียนแทนด้วยรังสีของแสง ถ้าแสงมาจากระยะไกลมากเรียกระยะนี้ว่า " ระยะอนันต์"เช่น แสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงดาวต่างๆ แสงจะส่องมาเป็นรังสีขนาน เมื่อรังสีของแสงผ่านเลนส์จะมีการหักเหและไปรวมกันที่จุดๆ หนึ่งเรียกว่า "จุดโฟกัส (F)" ระยะจากจุดโฟกัสถึงกึ่งกลางเลนส์ เรียกว่า "ความยาวโฟกัส (f)" และเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวทั้งสองของเลนส์เรียกว่า " แกนมุขสำคัญ (principal axis)"
ภาพที่เกิดจากเลนส์นูน
ภาพจากเลนส์นูนเป็นภาพที่เกิดจากรังสีหักเหไปพบกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือนขึ้นอยู่กับตำแหน่งวัตถุที่วางหน้าเลนส์ ดังรูป
รูปแสดงตัวอย่างภาพจริงและภาพเสมือนที่เกิดจากเลนส์นูน
(ก) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยู่ห่างเลนส์นูนระยะไกลกว่าความยาวโฟกัส
(ข) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยู่ห่างจากเลนส์นูนที่ระยะใกล้กว่าความยาวโฟกัส
รูปแสดงตัวอย่างการเกิดภาพที่ตำแหน่งต่างๆ ของเลนส์นูน

เลนส์เว้า
เลนส์เว้า (concave lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะบางตรงกลางและหนาที่ขอบ ดังรูป
รูปแสดงลักษณะเลนส์เว้า
ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า
เมื่อแสงส่องผ่านเลนส์เว้ารังสีหักเหของแสงจะกระจายออก ดังรูป
รูปแสดงภาพที่เกิดจากเลนส์เว้าเมื่อวางวัตถุที่ระยะต่างๆ
การหาชนิดและตำแหน่งของภาพจากวิธีการคำนวณ
การหาตำแหน่งภาพที่ผ่านมาใช้วิธีเขียนแผนภาพของรังสี ยังมีอีกวิธีที่ใช้หาตำแหน่งภาพคือ วิธีคำนวณ ซึ่งสูตรที่ใช้ในการคำนวณมีดังต่อไปนี้

สูตร = 

เมื่อ m คือ กำลังขยายของเลนส์
I คือ ขนาดหรือความสูงของภาพ
O คือ ขนาดหรือความสูงของวัตถุ
ในการคำนวณหาตำแหน่งและชนิดของภาพจะต้องมีการกำหนดเครื่องหมาย 1 และ 2 สำหรับปริมาณต่างๆ ในสมการดังนี้
1. s มีเครื่องหมาย + ถ้าวัตถุอยู่หน้าเลนส์ และ s มีเครื่องหมาย - ถ้าวัตถุอยู่หลังเลนส์
2. s' มีเครื่องหมาย + ถ้าวัตถุอยู่หลังเลนส์ และ s' มีเครื่องหมาย - ถ้าวัตถุอยู่หน้าเลนส์
3. f ของเลนส์นูนมีเครื่องหมาย + และ f ของเลนส์เว้ามีเครื่องหมาย -
ตัวอย่างที่ 2 วางวัตถุห่างจากเลนส์นูนเป็นระยะ 12 เซนติเมตร ถ้าเลนส์นูนมีความยาวโฟกัส 5 เซนติเมตร จะเกิดภาพชนิดใด และที่ตำแหน่งใด
ตัวอย่างที่ 3 วางวัตถุห่างจากเลนส์นูนเป็นระยะ 25 เซนติเมตร ปรากฏว่าเกิดภาพเสมือนห่างจากเลนส์ 15 เซนติเมตร เลนส์นี้เป็นเลนส์ชนิดใดและมีความยาวโฟกัสเท่าไร
วิธีทำ จากสูตร 
ค่า f เป็นลบ มีค่า 37.5 เซนติเมตร เป็นเลนส์เว้า ตอบ
ตัวอย่างที่ 4 วางวัตถุห่างจากเลนส์เว้าเป็นระยะทาง 20 เซนติเมตร เกิดภาพหน้าเลนส์และอยู่ห่างจากเลนส์ 8 เซนติเมตร จงหาความยาวโฟกัสของเลนส์เว้าและกำลังขยายของเลนส์
 ความยาวโฟกัสของเลนส์เว้าเท่ากับ 13.3 เซนติเมตร ตอบ 
หากำลังขยายใช้สูตร

แทนค่า

= -0.4
 ภาพที่เกิดเป็นภาพเสมือน มีกำลังขยายเท่ากับ 0.4 เท่าของวัตถุ ตอบ


*อ้างอิง http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/20.htm

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

พบกุ้งสายพันธุ์ใหม่


นักวิทย์ พบกุ้งสายพันธุ์ใหม่ อาศัยในน้ำร้อนกว่า 400 องศา

MThai News : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติในเซาแธมป์ตัน ในอังกฤษค้นพบกุ้งสายพันธุ์ใหม่ ที่อาศัยอยู่ในใต้ทะเลลึกกว่า 5 ก. ม. ที่รู้จักกันในนาม “ปล่องน้ำพุร้อนใต้ทะเล” (black smoker) ซึ่งมีอุหภูมิสูงกว่า 450 องศาเซลเซียส ในทะเลแคริเบียน บริเวณร่องน้ำเคย์แมน ทางตอนใต้ของเกาะเคย์แมน
ทั้งนี้ กุ้งสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบนี้ถูกตั้งชื่อว่า Rimicaris hybisae มันเป็นกุ้งที่ไม่มีตา มีหนวดสีขาว นอกจากความสามารถในการอยู่ในที่อุณหภูมิสูงแล้ว มันยังมีแสงไฟที่กลางหลังด้วย ซึ่งมันมีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับกุ้งสายพันธุ์ Rimicaris exoculata ซึ่งอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลกว่า 4,000 ม.
อย่างไรก็ตาม การค้นพบครั้งนี้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มาก เพราะในบริเวณนั้นร้อนและมีกรดซึ่งไม่เคยค้นพบพื้นที่ที่มีลักษณะเช่นนี้มาก่อน

*อ้างอิงมาจาก

อเมริกาใต้ 4


๕.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
   ๕.๑ทรัพยากรธรรมชาติ
                ๑)การทำป่าไม้ ในทวีปนี้มีพื้นที่ป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะในลุ่มน้ำแอมะซอนทางตอนเหนือและตะวันออกของทวีป ในประเทศบราซิล เวเนซุเอลา และเอกวาดอร์ยังคงมีการทำป่าไม้มาก โดยส่งไม้ไปขายในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้รับการต่อต้านมากเนื่องจากเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมโลกและสัตว์ป่าหายากจำนวนมาก

                ๒)สัตว์ป่า ทวีปอเมริกาใต้มีสัตว์ป่าทั้งบนบกและในน้ำจำนวนมาก เช่น ตัวลามา
ตัวกินมดยักษ์ เสือดาว งู และนกนานาชนิด ในน้ำมีพันธุ์ปลาหายากอย่างโลมาสีชมพู ซึ่งพบที่ประเทศบราซิล อุรุกวัยและอาร์เจนตินา บนเกาะอาลาปากอสของประเทศเอกวาดอร์ ก็มีสัตว์เฉพาะถิ่นหายาก คือ เต่ายักษ์และอิกัวนาทะเล ซึ่งการที่มีสัตว์ป่าชุกชุมทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศที่สำคัญ

                ๓)ทรัพยากรดิน ดินในทวีปอเมริกาใต้ประมาณร้อยละ๕๐เป็นดินที่มีธาตุไม่เหมาะสำหรับการเกษตร คือ มีธาตุอาหารต่ำ พื่นที่เป็นภูเขาสูงชันและหนาวเย็น ในบางพื้นที่ก็เปียกแฉะซึ่งอันดับดินที่สำคัญในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่
       ๓.๑)อันดับดินออกซิโซลส์ เป็นดินเก่าที่ผ่านการชะล้างดินมานาน มีชั้นดินสะสมเหล็กออกไซต์ ดินมีธาตุอาหารพืชต่ำ พบมากในลุ่มน้ำแอมะซอน
       ๓.๒)อันดับดินอัลฟิโซลส์ และอูลติโซลส์ ดินทั้งสองเป็นดินทีเหมาะสมกับการเกษตร แต่ดินที่อยู่บนพื้นที่ลาดชันหรือเป็นลอนคลื่นจะง่ายต่อการพังทลายดินทั้งสองอันดับพบมากทางตะวันออกของทวีปบนที่สูงบราซิล และยาโนสทางตอนเหนือของทวีป
       ๓.๓)อันดับดินมอลลิโซลส์ ดินเหนียว และดินร่วนเหนียวสีดำ มีอินทรียวัตถุสูงมีปริมาณด่างมาก ดินจึงอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร พบมากในทุ่งหญ้าแพมพาสและในที่สูงบราซิล
                       ๓.๔)อันดับดินแอริดิโซลส์ เป็นดินในทะเลทรายที่มีการกระหายน้ำสูงทำให้ดินแห้งและแข็ง สภาพอากาศไม่เหมาะแก่การเกษตร พบในเขตอับฝน เช่น ตอนใต้ของทวีปในประเทศอาร์เจนตินา และฝั่งตะวันตกของเทือกเขาแอนดีสในชิลี
                      ๓.๕)อันดับดินอินเซฟติโซลส์ เป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืช แต่อาจจะมีปัญหาน้ำท่วม พบตามริมแม่น้ำแอมะซอนและแม่น้ำอื่น บนที่สูงกายอานาและในเขตหนาวเย็นทางตอนใต้ของทวีป

                ๔)ทรัพยากรหิน แร่และเชื้อเพลิง หินที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในด้านทิศเหนือ ตะวันตกและใต้ของทวีป โดยหินปูนใช้ทำปูนซีเมนต์ และหินแกรนิตใช้เป็นหินประดับตกแต่งในด้านแร่ธาตุทวีปอเมริกาใต้ก็มีอุดมสมบูรณ์ เช่น ในประเทศอาร์เจนตินา มีแร่ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก ทองแดง เงิน ประเทศชิลี มีปุ๋ยไนเตรด ประเทศกายอานา มีแร่บ็อกไซต์ที่มีคุณภาพสูง แร่ทอง เพชร ทองแดง แมงกานีส และโมลิปดีนัม ประเทศเปรู มีแร่ทองแดง ประเทศซูรินาเม  มีแร่บ็อกไซต์จำนวนมาก ประเทศอุรุกวัย มีแร่อะเกต แอเมทิสต์ ทองและเหล็ก ประเทศเวเนซุเอลา มีแร่เหล็ก ทองแดง และเพชร

   ๕.๒สิ่งแวดล้อม
ประเทศในทวีปอเมริกาใต้เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่มีอุตสาหกรรมมากนักจึงไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโรงงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญในทวีปนี้ คือ ปัญหาชุมชนแออัดเกิดจากประชากรที่อพยพเข้าไปทำงานในเมืองซึ่งทำให้เกิดมลภาวะต่างๆ ตามมา  ส่วนในชนบทก็เกิดปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมอย่างรุนแรงในบางพื้นที่โดยมีสาเหตุมาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ตัวมิงค์
                     



*หมายเหตุ
          อ้างอิงมาจากหนังสือแบบเรียนสังคมศึกษาฯ ม.3

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

อเมริกาใต้ 3

ประเทศบราซิล
 

4.ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

 4.1 ลักษณะภูมิอากาศ
                ทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่ประมาณร้อยละ80อยู้ในเขตภูมิอากาศแบบดิบชื้น โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อนจนถึงอบอุ่น ส่วนทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ทำให้มีอากาศหนาวเย็น
                สามารถเบ่งลักษณะภูมิอากาศแบบเคิปเปน ได้ดังนี้
1.        เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือ ฝนตกชุกเขตร้อน ( Af ) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีฝนตกมากทั้งปี  เช่นพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของปนะเทศโคลัมเบีย ตอนเหนืแลชายฝั่งของประเทศบราซิล
2.        เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่ในฤดูหนาวอากาศจะเย็นและแห้งแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทษบราซิล และทิศตะวันตกของเอกวาดอร์
3.        เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิลิตรต/ปี เช่น ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกบทะเลแคริบเบียน
4.        เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราบแขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริวเณประเทศเปรูและ ชิลี
5.        เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทราย (BSh) เป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 380-760 มิลลิลิตร ไดแก่ พื้นที่ทางตอนเนืหอสุดของทวีปในโคลัมเบียและตอนกลางของอาร์เจนตินา
6.        เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีรฝนตกชุกเนื่องจากชายฝั่งทะเลทางด้านตะวักออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบลงมาทางใต้ เช่น บริเวณปนะเทสอาร์เจนตินาและอุรุกวัยติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
7.        เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก  (Cfb) มรฤดูหนาวยางนานได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของประทศชิลีและปลายแหลมของทวีป
8.        เขตภูมิอากาศแบบขั้วโลก (E) มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ได้แก่ บริเวณพื้นที่ปลายแหลมของทวีป
9.        เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง เช่นเทือกเขาแอนดีส
 
4.2 ลักษณะพืชพรรณตามธรรมชาติ
ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่มีพื้นที่ป่าไม่มากที่สุดในโลก โดยลุ่มแม่น้ำแอมะซอลนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญ พืชธรรมชาติในทวีปอเมริกาใต้แบ่งเป็นเขต ดังนี้

1.ป่าดิบชื้น เป็นป่าไม้ที่มีต้นสูง ไม่มีกิ่งก้านในระดับต่ำ รากมีลักษณะเป็นแนวนูนขึ้นมาบนต้น ใบใหญ่และมีสีเขียวตลอดปี พันธุ์ไม้หลากหลายมาก มักพบไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น มอส  ป่าดิบชื้นลุ่มแม่น้ำแอมะซอลเป็นป่าไม้ประมาณ 25 ของพื้นที่ป่าไม้โลก นอกจากนี้ยังพบป่าดิบชื้นในเวเนซุเอลา โคลอมเบียและเอกวาดอร์อีกด้วย
2. ป่าดิบชื้นเขตอบอุ่น เป็นป่าเขียวตลอดปี จำนวนพันธุ์ไม้น้อยกว่าป่าฝนเขตร้อน ต้นไม้ไม่สูงมาก ใบใหญ่มาก ความหนาแน่นเรือนยอดน้อยกว่าพันธุ์ไม้เช่น ไม้โอ๊ก แกมโนเลีย มีไม้ชั้นล่างมาก เช่น ปาล์มเล็ก ไผ่ ไม้พุ่ม มีพันธุ์ไม้ขึ้นตามลำดับ เช่น กล้วยไม้ เถาวัลย์ ป่าดิบเขตอบอุ่นพบมากตามเทือกเขาแอนดีส บนที่สูงบราซิลด้านตะวันออกของทวีป และตอนใต้ของชิลี
3. ป่าไม้พุ่มและทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าไม้เขตนี้มีลักษณะผสม เช่นป่าไม่ผลัดใบ ป่าไม่พุ่ม และทุ่งหญ้า
พบมากในประเทศโบลิเวีย อาร์เจนตินา ปารากวัน โคลอมเบีย เวเนซุเอลาและ ทางตะวักออกของบราซิล
4.ป่าไม้เนื้อแข็งเขียวตอลดปี ป่าไม้เนื้อแข็งเขียวตลอดปี บางครั้งเรียกว่า สเคลอโรฟิลล์เปลือกหนา  ป่าชนิดนี้จะรวมไปถึงพุ่มไม้เล็กน้อยทาตะวันตกของประเทศชิลี
5. ทุ่งหญ้าสเตปป์ เป็นป่าหญ้าเตี้ย กระจายเป็นหย่อมๆ ตามบริเวณที่มีอินทรียวัตถุสะสม มักพบต้นไม้แคระเตี้ยกระจายอยู่ทั่วไป
                พบทุ่งหญ้าสเตปป์ในประเทศอุรุกวัยทางตะวันออกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศบราซิล
6.ทะเลทรายแห้งแล้งและกึ่งทะเลทราย มีพันธุ์ไม้ทนแล้งกระจายทั่วไป เกือบจะไม่มีส่วนปกคลุมดิน มีต้นไม้เล็กและมีหนามแหลม เช่น กระบองเพชร พบมากทางตะวันออกและตะวันตกของเทือกเขาแอนดีสและประเทศโบลิเวีย
7. เขตภูเขาสูง ได้แก่ เทือกเขาแอนดีสที่เป็นเทือกเขาสูง นอกจากนี้ยังมีป่าไม้ผลัดใบเขียวในฤดูร้อนทางปลายแหลมฮอร์นของทวีปอเมริกาใต้

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

อเมริกาใต้ 2

3. ลักษณะภูมิประเทศ
          แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ
3.1 เขตที่สูงกายอานา เขตที่สูงกายอานาประกอบด้วย เขตที่สูงอายอานาแลที่ลุ่มยาโนส เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีป เป็นหินอัคนีหรือแกรนิต มีความยาวในแนวตะวันออกถึงตะวันตกมากกว่า 1600 กิดลเมตร พื้นที่สูงเริ่มจากตอนใต้ของประเทศเวเนซุเอลาไปถึงทิศเหนือสุดของประเทศบราซิล
 ประกอบด้วยที่ราบสูงมีร่องน้ำลึกมาก มีน้ำตกที่สูงที่สุดของโลก คือ น้ำตกแองเจล ซึ่งสูง 979เมตร
                ที่ลุ่มยาโนสอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่สูงกายอานา เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่สูงกายอานา อยู่ในเขตประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา แม่น้ำที่สำคัญคือ โอริโนโค แลสาขา เกิดจากตะกอนทับถมกันทำให้แม่น้ำอุดมสมบูรณ์

                3.2 เขตเทือกเขาแอนดีส เทือกเขาแอนดีสเป็นเทือกเขาแคบวางตัวแนวเหนือ-ใต้เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เริ่มตั้งแต่แหลมเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแนวยาวไปจนสุดแหลมฮอร์นของประเทศชิลี ด้านทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก มีชายฝั่งแคบมากและภูเขาสูงชัน มีแม่น้ำสั้นๆไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก บางบริเวณเป็นเขตแห้งแล้งหรือหนาวจัด ด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสจะมีความลาดชันน้อยกว่าด้านตะวันตก แลเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำ เช่น แอมะซอล
                3.3 เขตลุ่มน้ำภาคใต้ เขตลุ่มน้ำภาคใต้อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส เริ่มตั้งแต่ตอนใต้ของโบลิเวียไปจนสุดแหลมภาคใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ประกอบด้วยที่ราบแพมพาสปาตาโกเนีย ในประเทศอาร์เจนตินา
                ที่ราบแพมพาสมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่และมีแม่น้ำหลายสายผ่านไปสู่อ่าวอิโร เตอ ลา พบาตา ระหว่างเมืองหลวงของอุรุกวัยและอาร์เจนตินา
                ที่ราบปาตาโกเนีย มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายทางตอนใต้ของอาร์เจนตินา พื้นที่ค่อนข้างขรุขระและมีต้นไม้หนาแน่น พื้นที่บางส่วนเป็นธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ชายฝั่งเป็นที่อาศัยของวาฬ แมวน้ำ และเพนกวิน
 
                3.4 เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอลและที่สูงบราซิล
                เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอลและที่สูงบราซิลอยู่ในประเทศบราซิล เริ่มตั้งแต่ด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเปรู จนถึงด้านตะวันออกของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ลุ่มแม่น้ำแอมะซอล เรียกสั้นๆว่า
 แอมะโซเนีย เป็นที่ราบต่ำ มีระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร มีความลาดเทน้อยมาก แม่น่ำมีความยาว 6570 กิโลเมตร คลุมพื้นที่มากกว่า 8 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนที่สูงบราซิลอยู่ทางทิศตะวักออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มตั้งแต่ตอนกลางของบราซิลลงไปติด อุรุกวัย มีความยาว 1280 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไม่สูงมากนัก นอกจากภูมิประเทศทั้ง 4 เขตแล้ว ทวีปอเมริกาใต้ยังมีชาบฝั่งทะเล โดยทางทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางด้านตะวันตดติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งทางชายฝั่งทะเลตอนใต้ของทวีปจะเป็น ฟยอร์ด ที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง มีสัตว์น้ำและนกหลายชนิดอาศัยอยู่
                ทางตอนเหนือของทวีปมีแม่น้ำไหลลงทะเลแคริบเบียน แม่น้ำแอมะซอลไหลจากเทมือกเขาแอนดีสสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมือง คาปา ประเทศบราซิล โดยบริเวณปากแม่น้ำนั้นมีเกาะจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำ ปรากวัย แม่น้ำอุรุกวัย แม่น้ำซาลาโด แม่น้ำโคโดราโด แม่น้ำซูบัต และแม่น้ำสายนั้นๆไหลจากทิศตะวันตกของทวีปลงมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออก

ทวีปอเมริกาใต้ ตอนที่ 1

1. ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
                หลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีคนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ประมาณ 12500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพบเครื่องมือหินและเครื่องมือที่ใช้ทำด้วยหนังสัตว์ในประเทศชิลี กระที่ง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศเปรูปัจจุบันนั้นมีวัฒนธรรมนาสคา  ( Nasca ) เกิดขึ้นโดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์และมีการใช้เครื่องประดับ
                ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบเบริง
( Bering ) แล้วเดินทางลงมาผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ดังเช่นปัจจุบัน
ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้จึงมีความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติ โดยในประเทศเปรูชนพื้นเมืองได้สร้างอาณาจักรอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางด้านตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองคุชโกเป็นศูนย์กลาง
                ในพ.ศ.2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วนเรือเข้ามายังบริเวณรอยต่อของอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาเป็นที่มาของประเทศโคลัมเบียในปัจจุบัน กระทั่งพ.ศ.2043 ประเทศต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษและฝรังเศส ได้เข้ามาสำรวจและยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมกันเป็นจำนวนมาก และได้ผลประโยชน์จากเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งพ.ศ. 2261 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน (Jose de san Martin ) ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา ชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนชุเอลา ให้เป็นอิสระจากสเปนแลปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากโปรตุเกส
                ในพ.ศ. 2525 เกิดสงครามฟอล์กแลนด์ระหว่างประเทศอาร์เจนตินาและอังกฤษเพื่อแย่งเกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งปะรเทศอังกฤษเป็นฝ่ายชนะและยังคงยึดเกาะฟอล์กแลนด์ถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่ยังคงยึดครองแผ่นดินเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้



2.ลักษระทางกายภาพ
2.1  ทำเลที่ตั้งและขนาด
                ทวีปอเมริกาใต้อยู่บนซีกโลกใต้เป็นส่วนมากโดยอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 12 องศาเหนือถึง 56 องศาใต้ แลลองจิจูดที่ 35 องศาตะวันตกถึง 117 องศาตะวันตก
                มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของแผ่นดินโลกใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แลมีเนื้อที่แผ่นดินติดต่อกันทำให้ชายฝั่งทะเลมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของทวีป โดยทวีปอเมริกาใต้มีแผ่นดินคล้ายรูป สามเหลียม
2.2 อาณาเขต
                ทวีปอเมริกาใต้มีอาณาเขตเขาติดต่อกันกับดินแดนต่างๆ ดังนั้น
                ทิศเหนือ ติดต่อกับทวีปอเมริกากลาง แลจดทะเลแคริบเบียน
                ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก แลอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะเซาท์จอร์เนีย
                ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะ อีสเตอร์ ของประเทศชิลี
                ทิศใต้ จดช่องแคบเครกในทวีปแอนตาร์กติกาและอาณาเขตสิ้นสุดที่แหลมฮอร์นของประเทศชิลี
ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 12 ประเทศและ 3 อาณาเขตปกครอง ซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศได้ 4กลุ่ม ดังนี้
1. เขตที่สูงอายอานา อยู่ทางตอนเหนือของทวีป มี 4 ประเทศคือ ประเทศกายอานา ซูรินาเม เวเนซุเอลาและโคลัมเบียประเทศโคลัมเบียมีเนื้อและประชากรมากที่สุดในเขตนี้
2. เขตเทือกเขาแอนดีส อยู่ทางด้านตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศเปรู เอกวาดอ โบลิเวียและชิลี ประเทศโบลิเวียมีเนื้อที่มากที่สุด ส่วนเปรูจะมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้

3. เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดีส ประกอบด้วยประเทศ อาร์เจนตินา ปรากวัยและอุรุกวัย ประเทศอาร์เจนตินามีเนื้อที่และประชากรมากที่สุดในเขตนี้

4. เขตลชุ่มแม่น้ำแอมะซอลและที่ราบสูงบราซิล ได้แก่ประเทศบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร แลมีประชากรมากกว่า 171.86 ล้านคน


*หมายเหตุ 
     อ้างอิงมาจากหนังสือสังคมศึกษาฯ ม.3 (พิมพ์ด้วยต้วเองคะ)
     ไม่ต้องคอมเม้นอะไรกันมากมายก็ได้คะ แต่ขอให้นำความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์คะ

บิดาแห่งพันธุศาสตร์


เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล

 Gregor Johann Mendel 


เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech
เสียชีวิต วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองเบิร์น (Brunn) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)
ผลงาน - ค้นพบลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
                - ให้กำเนิดวิชาพันธุศาสตร์ (Genetices)


        เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)


ชีวประวัติ  ครอบครัวของเขาอยู่ในฐานะดีแต่ไม่ถึงกับมั่งคั่งนัก บิดาของเขาเป็นเกษตรกร ทำให้เมนเดลมีความรู้เกี่ยวกับพืชเป็นอย่างดีเมนเดลเริ่มต้นการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนมัธยมในเมืองทรอปโป (Troppau) ในระหว่างนี้ครอบครัวเขายากจนลงทำให้เมนเดลต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงานภายในฟาร์ม ต่อมา บิดาของเขาได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบครัวของเขาจึงตกลงขายที่ดิน และนำเงินมาแบ่งกัน น้องสาวของเขาเห็นว่า เขามีความจำเป็นต้องใช้เงินในการศึกษาจึงมอบเงินส่วนของเธอให้กับเมนเดลเพื่อศึกษาต่อ แต่ถึงอย่างนั้นเงินที่มีอยู่ก็ยังคงไม่เพียงพอและจากความช่วยเหลือสนับสนุนจากครูผู้หนึ่ง ในปี ค.ศ.1843 เมนเดลจึงได้บวชเป็นเณรในสำนักออกัสทิเนียน(Augustinion Order) ที่เมืองบรูโน (Bruno) และต่อมาเมนเดลได้สอบเข้าโรงเรียนใน เมืองบรูโน แต่ก็ไม่สามารถสอบเข้าได้ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอยู่หลายครั้ง ดังนั้นเมนเดลจึงได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยโอลมุทซ์ (Olmutz College) ในที่สุดเมนเดลก็สำเร็จการศึกษา หลังจากจบการศึกษา  เมนเดลได้บวชเป็นพระอยู่ที่วิหารออกัสทิเนียนนั่นเอง และได้รับฉายาว่า เกรเกอร์ หน้าชื่อของเขา เป็น เกรเกอร์โจฮันน์ เมนเดล

           แม้ว่าเมนเดลจะไม่ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติตามที่เขาได้ตั้งใจไว้แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการค้นคว้างานด้านนี้ นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1862 เขายังเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง Natural Science Society ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการศึกษางานด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติมากสถาบันหนึ่ง

         จากการที่เมนเดลเคยทำงานในฟาร์มมาก่อนทำให้เขามีความรู้ด้านพืชเป็นอย่างดีเมนเดลได้ปลูกพืชพันธ์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในสวนหลังโบสถ์ที่มีเนื้อที่เพียง ไม่กี่ เอเคอร์ เขาเริ่มสังเกตุเห็นความแตกต่างของต้นไม้แต่ละต้นทั้งที่เกิดจาก ต้นกำเนิดเดียวกันและต่างพันธุ์กันดังนั้นเขาจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และเริ่มทำการทดลอง ในปี ค.ศ. 1865 เมนเดลได้เริ่มต้นทำการทดลองเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร เขาได้ทำการทดลองโดยใช้ต้นถั่วในการทดลอง เนื่องจากต้นถั่วเป็นพืชล้มลุก ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตสั้น และมีพันธุ์ที่แตกต่างกันมากมายหลายพันธุ์ เช่น ชนิดต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ส่วนเมล็ดบางชนิดสีเขียว สีเหลือง และสีน้ำตาล ดังนั้นดอกก็ย่อมมีสีที่ แตกต่างกันด้วย เช่นกัน คือ ดอกบางชนิดสีขาว สีม่วงแกมแดง ซึ่งลักษณะของดอกต้นถั่วนี้คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดเนื่องจากดอกของต้นถั่วซึ่งเรียกกันตามลัษณะทางพฤษศาสตร์ว่า ดอกสมบูรณ์เพศ (Rerfect flowered) คือ ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ย่อมเป็นการง่ายต่อการนำมาทดลองซึ่ง ในขั้นต้นเมนเดลได้หว่านเมล็ดพืชลงบริเวณแปลงทดลอง ในเรือนเพาะชำ และปล่อยให้ต้นถัวผสมพันธ์และเจริญเติบโตกันเองตามธรรมชาติ จากผลการทดลองพบว่าต้นถั่วมีขนาดไม่เท่ากันบางต้นสูง บางต้นเตี้ย อีกทั้งเมล็ดก็มีสีต่างกัน บางต้นเหลืออ่อน บางต้นสีน้ำตาล การทดลองครั้งแรกจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเมนเดลไม่สามารถหาข้อสรุปได้ 

               จากนั้นเขาจึงทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง โดยการใช้กระดาษห่อดอกที่ต้องการผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมพันธุ์กันเอง จากนั้นเมนเดลได้คัดเลือกเกสรของพันธ์ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่มากถึง 7 พันธุ์ มาผสมข้ามพันธุ์กัน โดยการทดลองครั้งนี้เมนเดลได้มุ่งประเด็นไปที่ความสูงและความเตี้ยของต้นถั่วเป็นสำคัญ เมนเดลนำเกสรตัวผู้ของต้นสูง มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นเตี้ย จากผลการทดลองปรากฏว่าได้พันธุ์ทาง (Hybrid) ที่มีต้นเตี้ยและต้นสูง แลไม่มีต้นที่มีความสูงระดับปานกลางจากนั้นเขาจึงทำให้การทดลองต่อไปโดยการสลับกัน คือ นำเกสรตัวผู้ของต้นเตี้ย มาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นสูง จากนั้นเขาได้สลับไปมาระหว่างต้นสูง และต้นเตี้ยกว่า 10 ครั้ง ทำให้เมนเดลมีเมล็ดถั่วจำนวนมาก เมนเดลได้นำเมล็ดถั่วมาทดลองปลูกปรากฏว่าต้นถั่วชุดแรกได้พันธุ์สูงทั้งหมด ตามลักษณะเช่นนี้เมนเดลได้สันนิษฐานว่า พันธุ์ต้นสูงเป็นลักษณะพันธุ์เด่นที่ข่มพันธ์เตี้ยซึ่งด้อยกว่าไว้

               จากนั้นเมนเดลได้ปล่อยให้ต้นถั่วผสมพันธุ์กันเอง และเมื่อเมนเดลเก็บเมล็ดถั่วมาปลูกในปีต่อมา ผลปรากฏว่าในจำนวน 1,064 ต้น เป็นต้นสูง 787 ต้น ต้นเตี้ย 277 ต้น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทำให้เมนเดลเกิดความสงสัยเป็นอันมาก ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไปในครั้งที่ 3 ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับครั้งแรกและครั้งที่ 2 คือ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ผลปรากฏว่าได้พันธุ์แท้ตามลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ คือ ต้นสูงได้ต้นสูง ต้นเตี้ยได้ต้นเตี้ย จากผลการทดลองหลายครั้งซึ่งในเวลานานหลายปีเขาสามารถสรุปได้ และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมว่า ลักษณะเด่นและด้อยที่อยู่ในแต่ละพันธุ์จะไม่ถูกผสมกลมกลืน แต่ยังคงเก็บลักษณะต่าง ๆ ไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับลูกหลานภายใน 2-3 ชั่วอายุ ซึ่งลูกที่ออกมาจะเป็นไปในอัตราส่วน พันธุ์เด่น : พันธุ์ด้อย เท่ากับ 3 : 1เสมอ แต่ถ้ามี การผสมข้ามพันธุ์ไปอีกย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอีกเช่นกัน ส่วนนี้เป็นเรื่องของพันธุ์ทาง แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้ คือไม่มีการผสมข้ามพันธุ์แล้วลูกย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับพ่อแม่ แม้จะต่อไปถึง 2-3ชั่วอายุแล้วก็ตาม


         เมนเดลยังคงอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่ว่านี้ถูกกำหนดโดย Heredity Atoms ซึ่งอยู่ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันรู้จักกันดีในชื่อของ ยีนส์ (Genes) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน โดยหน่วยของยีนส์จะอยู่ในทั้งเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (Male genetices) และเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (Female genetices)


         หลังจากการทดลองและพบความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรม เขาได้นำผลงานเสนอต่อสมาคมวิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์น (Natural Science Society of Brunn) ทางสมาคมได้นำผลงานของเมนเดลตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อว่า Proceedings of the Nature History Society of Brunn ในปี ค.ศ. 1866 และผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์เพียงชิ้นเดียวของเขา แต่ผลงานชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1900 ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 34 ปี เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ผลงานของเขาได้เผยแพร่คือ อีริค เชอร์มัค (Erich Thshermak) ฮิวโก เดอร์ วีส (Hugo de Vries) และคาร์ล คอร์เรนส์ (Karl Correns) ซึ่งกำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ และได้ค้นเจอหนังสือเล่มนี้ของเมนเดลเกี่ยวกับการทดลองเรื่องถั่วในห้องสมุด ซึ่งการทดลองนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของความลับในการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่เกี่ยวกับสิ่งอื่น ๆ อีกได้แก่การศึกษาชีวิตของผึ้ง ระยะเวลาของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิประจำวัน ทิศทางของลม และการศึกษาการการศึกษาการเจริญเติบโต การขยายพันธ์ของพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์

*หมายเหตุ
-สืบค้นเนื้อหามาจาก http://siweb.dss.go.th
-ได้ทำการปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนเอง