การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ลักษณะทางพันธุกรรม
คือลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุมโดย “ยีน”(Gene) ซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้หรือถ่ายทอดไปยังรุ่นลุกหลาน โดยผ่านทางเซลล์สืบพัน ที่เรียกว่า “Sex cell”
องค์ประกอบของเซลล์
DNA > ยีน (Gene) > โครโมโซม (Chromosome) > นิวเคลียส (Nucleus) > เซลล์ (Cell)
ความแปรผันทางพันธุกรรม
คือลักษณะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1.การแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Variation)
-เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
-เป็นลักษณะทางคุณภาพ เช่น กรุ๊ปเลือด การถนัดซ้ายขวา ตาสองชั้น ตาชั้นเดียว มีลักยิ้ม ไม่มีลักยิ้ม เป็นต้น
-ถูกควบคุมโดย ยีนน้อยคู่ และสิ่งแวดล้อมมีผลทำให้เกิดลักษณะดังกล่าวเพียงเล็กน้อย
2.การแปรผันแบบต่อเนื่อง
-เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันไม่ชัดเจน
-เป็นลักษณะทางปริมาณ เช่น ความสูง น้ำหนัก
-ถูกควบคุมโดย ยีนมากคู่ และสิ่งแวดล้อมมีผลมากที่จะทำให้เกิดความแปรผันต่อเนื่อง
โครโมโซม
คือสารพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์ เป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ เช่น สีตา สีผม ความสูง และควบคุม การทำงาน ของร่างกาย โดยโครโมโซมจะอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ ในร่างกายของคนปกติทั่วไปแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมอยู่ทั้งหมด23 คู่ หรือ 46 แท่งโดยครึ่งหนึ่งคือ 23 แท่งเราจะไดhรับมาจากพ่อและอีก 23 แท่งจะได้มาจากแม่ และเราสามารถ ถ่ายทอดโครโมโซมครึ่งหนึ่งไปให้ลูกของเราได้เช่นกันด้วยเหตุนี้เราจึงมีลักษณะเหมือนพ่อกับแม่ส่วนลูกของเราก็จะมีลักษณะเหมือนเราและคู่ครองของเรานั่นเอง

ยีน(Gene)
คือ หน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ยีนเป็นส่วนของ DNA ที่สามารถควบคุมการแสดงออกได้ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนยีนแตกต่างกัน เช่น แบคทีเรีย มียีนประมาณ 4,000 ยีน แมลงหวี่ 20,000 ยีน และมนุษย์ประมาณ 30,000 กว่ายีน เป็นต้น จำนวนยีนจึงเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตยีนอยู่บนโครโมโซมที่มีอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นยูคาริโอต และอยู่บน DNA ของสิ่ง มีชีวิต เนื่องจากยีนเป็นส่วนหนึ่งของ DNAซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครโมโซมดังนั้นยีนจึงอยู่บนโครโมโซม
“ทอมัส ฮันต์มอร์แกน” ได้พบความสัมพันธ์ของกฎและกลไกทางพันธุกรรมและได้ทำการวิจัยที่ระบุว่า ตำแหน่งของยีนนั้นอยู่บนโครโมโซม
ความสัมพันธ์ของยีนและโครโมโซม
ปีค.ศ.1902 Sutton และBovery ได้เสนอทฤษฎีโครโมโซม ซึ่งมีใจความ 2 ประการคือ
1.ยีนมีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม
2.โครโมโซมเป็นตัวกลางในการนำยีนจากพ่อแม่ไปยังลูกเมื่อมีการสร้างและรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์จากทฤษฎีโครโมโซมนี้ทำให้สามารถอธิบายการทดลองของเมนเดลซึ่งศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาและนำเสนอในปี ค.ศ.1865ได้อย่าสมเหตุสมผล
ปีค.ศ.1902 Sutton และBovery ได้เสนอทฤษฎีโครโมโซม ซึ่งมีใจความ 2 ประการคือ
1.ยีนมีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม
2.โครโมโซมเป็นตัวกลางในการนำยีนจากพ่อแม่ไปยังลูกเมื่อมีการสร้างและรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์จากทฤษฎีโครโมโซมนี้ทำให้สามารถอธิบายการทดลองของเมนเดลซึ่งศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาและนำเสนอในปี ค.ศ.1865ได้อย่าสมเหตุสมผล
*หมายเหตุ
-ความสัมพันธ์ของยีนและโครโมโซม อ้างอิงมาจาก http://www.phanphit.ac.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น